ตั้งสติก่อนตรวจโควิด-19 เช็คตัวเองความด่วนระดับไหน มาดูกัน!

Read More

เชื่อว่าสถานการณ์ในตอนนี้ทำให้ทุกๆคน เกิดความหวาดระแวงและต้องการที่จะไปตรวจโควิด-19 กันอย่างเร่งด่วน ทำให้โรงพยาบาลหลายที่เริ่มปิดรับการตรวจหาเชื้อกันไปแล้ว เนื่องจาก มียอดการตรวจที่สูงมาก อาจทำให้ขาดแคลนเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญ 

นายแพทย์ชนาธิป ไชยเหล็ก แพทย์ผู้ศึกษาด้านระบาดวิทยา ได้ให้ความรู้จากประสบการณ์ ในเรื่อง ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาลก่อน และใครบ้างที่ยังไม่จำเป็นต้องรีบไปตรวจ

ผู้ที่มีประวัติเสี่ยง

ผู้ที่มีประวัติเสี่ยง

ถ้าท่านมีประวัติเสี่ยง เช่น เพิ่งไปเที่ยวสถานบันเทิงย่านทองหล่อ ทำงานอยู่ในสถานบันเทิงที่พบผู้ป่วยหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ท่านควรได้รับการตรวจหาเชื้อ ไปที่โรงพยาบาลรัฐใกล้บ้านหรือตามสิทธิ์การรักษา หาก ‘มี’ อาการท่านจะได้ตรวจฟรี แต่หาก ‘ไม่มี’ อาการจะเข้าเกณฑ์การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก ซึ่งควรได้รับการตรวจฟรีที่โรงพยาบาลเช่นกัน แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของโรงพยาบาลนั้นๆด้วย 

หากยังไม่สามารถตรวจได้ แนะนำว่า ให้สังเกตอาการของตัวเองไปก่อน ถ้ามีอาการแล้วจึงไปขอรับการตรวจอีกที ซึ่งจะได้ตรวจทันทีเลย แต่หลายท่านก็ยังสงสัยว่า ให้สังเกตอาการตัวเองไปก่อน จะเป็นการแพร่เชื้อต่อผู้อื่นหรือไม่? สามารถเป็นไปได้ เพราะผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่อาการเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการ ท่านที่มีประวัติเสี่ยงก็อาจแพร่เชื้อได้ แต่ถ้าท่านกักตัวเองที่บ้านจนครบ 14 วัน ไม่ออกไปไหน หรือถ้าออกจากบ้านก็สวมหน้ากาก เว้นระยะห่างจากคนอื่น อย่างนี้ คนอื่นก็จะไม่ได้รับเชื้อต่อจากเรา

ตรวจโควิด-19

แต่ถ้าหากท่านรีบตรวจเร็วเกินไป อาจตรวจไม่เจอเชื้อก็เป็นได้ ระยะเวลาที่เหมาะสมคือหลังจากท่านมีประวัติเสี่ยงไปแล้ว 5 วันขึ้นไปนะครับ มีผู้ติดเชื้อหลายท่านในระลอก 3 นี้ ตรวจครั้งแรกไม่พบเชื้อ แต่หลังจากนั้นเริ่มมีอาการ จึงไปตรวจซ้ำอีกรอบ ถึงได้พบเชื้อโควิด-19 

ผู้มีประวัติเสี่ยง แต่ยังไม่ได้ตรวจ

ผู้ป่วยจะเริ่มต้นจากอาการเล็กน้อยก่อน เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ แนะนำว่าถ้ามีอาการแล้ว ถึงค่อยไปตรวจก็ได้ และผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคประจำตัว เช่นโรค ถุงลมโป่งพอง หอบหืด หลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองตีบ ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ น้ำหนักเกิน 90 กก. ตับแข็ง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง ถ้าเป็นข้อใดข้อหนึ่งจะถือว่าเป็นกลุ่มที่ความเสี่ยงต่ออาการรุนแรง หากมีอาการจะได้รับยาต้านไวรัสทันที ส่วนการ ‘ติดเชื้อตาย’ ตอนนี้ความเสี่ยงของไทยลดลงเหลือเพียง 0.3% (ทุกๆ ผู้ป่วย 1,000 ราย จะมีผู้เสียชีวิต 3 ราย) และต่ำกว่าของทั้งโลก ซึ่งเท่ากับประมาณ 2%

ดังนั้น สำหรับผู้ที่มีประวัติเสี่ยง ถ้ามีอาการ ควรได้รับการตรวจหาเชื้อในวันนั้น แต่ถ้ายังไม่มี สามารถกักตัวที่บ้านและสังเกตอาการไปก่อน เพราะผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หายได้เอง และถ้ารีบตรวจเร็วไปก็อาจไม่เจอเชื้อ ซึ่งหากระหว่างนี้มีอาการให้รีบไปโรงพยาบาลครับ

ผู้ที่ไม่มีประวัติเสี่ยง

สำหรับผู้ที่ไม่มีประวัติเสี่ยง ควรสวมหน้ากากก่อนออกจากบ้าน อยู่ในที่แออัดก็สวมตลอด ล้างมือบ่อยๆหรือทำงานแถวย่านทองหล่อ แต่ไม่เคยเข้าไปในสถานบันเทิงเลย อย่างนี้ถือว่าไม่มีประวัติเสี่ยง

ในเมื่อท่าน ‘ไม่มีความเสี่ยง’ = ไม่ได้รับเชื้อ จึงไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อ ส่วนท่านที่ได้รับการประเมินว่าเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิด ‘เสี่ยงต่ำ’ ควรได้รับการตรวจหาเชื้อเมื่อมีอาการ เพราะโอกาสติดเชื้อต่ำ (สบายใจได้ระดับหนึ่ง) แต่ถ้ามีอาการป่วยก็ควรตรวจหาเชื้อ เพื่อยืนยันว่าไม่ใช่โควิด-19 แล้วถ้ามีอาการที่สงสัยว่าเป็นโควิด-19 อย่าง ไข้ ไอ เจ็บคอ ก็อาจเกิดจากไวรัสชนิดอื่นได้ แต่ถ้ามีอาการจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หรือปอดอักเสบไม่ทราบสาเหตุ แพทย์จะเริ่มสงสัยและขอเก็บตัวอย่างจากการแยงจมูกไปตรวจหาเชื้อ ซึ่งกรณีนี้ก็ “ฟรี” เหมือนกัน เพราะเข้าเกณฑ์การสอบสวนโรค

ตรวจโควิด-19

ในภาวะที่มีการระบาดเป็นวงกว้าง การจัดลำดับว่าใครควรได้รับการตรวจก่อนเป็นเรื่องสำคัญ เข้าใจว่าทุกคนกังวล แต่ถ้าทุกคนรีบเร่งเข้าไปตรวจกันหมด มีโอกาสที่บุคลการจะขาดแคลน น้ำยาตรวจเชื้อหมด ผู้ที่มีประวัติเสี่ยงก็จะไม่ได้รับการวินิจฉัย และผู้ติดเชื้อก็จะได้รับการรักษาล่าช้า ส่งผลกระทบอย่างมากในทุกๆด้านเลยครับ สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกคนมีสติและหมั่นรักษาความสะอาดอยู่ตลอด ใส่แมสทุกครั้ง เพื่อป้องกันตัวเองและผู้อื่นนะครับ 

 

Source :  http://bit.do/thairathlifestyle

ติดต่อเรา

เราจะเป็นพลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคม ด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น

ข้อความสำหรับขอความยินยอมในหน้าเว็บไซต์ https://www.skyict.co.th หากท่านยินยอมให้ทางบริษัทประมวลผลข้อมูลในกรณีใดๆ กรุณาทำเครื่องหมาย / ในช่อง ด้านหน้า