3 วิธีเอาตัวรอดจากอาชญากร

Read More

  ทุกวันนี้ มีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นมากมายในสังคมไทย โดยเฉพาะคดีฆาตกรรมที่นับวันจะทวีความรุนแรงและสะเทือนขวัญมากยิ่งขึ้น บางคดีมีการวางแผนไว้เป็นอย่างดี หรือแม้แต่กระทั่งคนลงมือเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน

  ทำให้ตอนนี้ ในสังคมมีภัยรอบตัวเต็มไปหมด ไม่สามารถไว้ใจใครได้ง่ายๆอีกต่อไป ต้องระมัดระวังตัวเอง ช่วยเหลือกันเอง เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่า จะมีเหตุร้ายเกิดขึ้นกับเรา หรือคนใกล้ตัวเราเมื่อไหร่ ดังนั้น เราควรมีแนวทางป้องกันตัวเองซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญต่อชีวิตและทรัพย์สินของเรา
วันนี้ SKY จึงมาแนะนำ 3 วิธีเบื้องต้นที่จะเอาตัวรอดจากอาชญากรกันครับ ไปดูกันเลย

เอาตัวรอดจากอาชญากร

จากกรณีชายมีลักษณะคล้ายเมายาคุ้มคลั่ง ขับรถจักรยานยนต์ ใช้อาวุธมีดไล่ทำร้ายชาวบ้านใน เขตเทศบาลนครอุดรธานี จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ

เหตุการณ์นี้ถือเป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด เรามาดูกันว่าหากเกิดกรณีแบบนี้ขึ้นใกล้ๆตัวของเราจะมีวิธีการปฏิบัติตนอย่างไรให้รอดพ้นจากอันตรายที่กำลังใกล้เข้ามา

1. ออกห่างจากจุดเกิดเหตุ

เมื่อได้ยินเสียงคนร้องกรี๊ด เสียงปืน เสียงระเบิด หรือการประกาศเตือนต่างๆ สำรวจพื้นที่รอบๆ หากอยู่ในอาคารให้เลี่ยงการใช้ลิฟต์ ให้ใช้บันไดแทน 

2. หากหนีไม่ทันให้หาที่ซ่อนตัว

หาห้องล็อกให้แน่นหนา พยายามตั้งสติ ไม่ส่งเสียงร้องตกใจ ปิดเครื่องมือสื่อสาร ถ้าไม่มีห้องให้หลบหลังกำแพง หมอบใต้โต๊ะ พยายามทำตัวต่ำที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกทำร้ายร่างกาย

3. ต้องสู้เพื่อเอาชีวิตรอด!

หากหนีไม่พ้น หาของแข็งใกล้ตัวขว้างใส่ผู้ประสงค์ร้าย เพื่อสกัดไม่ให้เข้าถึงตัว ก่อนจะอาศัยจังหวะออกห่างจากที่เกิดเหตุ

ต่อสู้กับอาชญากร

เป็นเรื่องผิดกฎหมายหรือไม่ หากเราจะลงมือกับผู้ที่จะทำร้ายร่างกายเรา?

ทนายรัชพล ศิริสาคร เคยให้ความรู้เกี่ยวกับกรณีนี้ ผ่านเพจส่วนตัวสายตรงกฎหมาย โดยระบุว่า 

กรณีที่มีภัยมาถึงตัว กฎหมายให้สิทธิของประชาชนสามารถป้องกันตัวเองได้ ซึ่งหากการป้องกันตัวต้องทำให้คู่กรณีเสียหาย การกระทำของผู้ป้องกันตัวจะไม่เป็นความผิด ซึ่งการป้องกันตัว จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

1. ต้องเป็นการป้องกันสิทธิของตนเองหรือผู้อื่นก็ได้

2. มีอันตรายมาถึงเราหรือผู้อื่น ก็สามารถป้องกันตัวได้

3. ต้องเป็นอันตรายที่ใกล้จะถึง เช่น เงื้อไม้จะตีหัวเราแล้ว ก็ป้องกันตัวได้

4. ต้องป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ ไม่ได้หมายเอาชีวิต เพราะไม่งั้น อาจเป็นการป้องกันตัวเกินกว่าเหตุได้ เช่น จับโจรได้แล้ว แต่ยิงซ้ำให้ตายเพราะความแค้น แบบนี้ก็เป็นการป้องกันตัวเกินกว่าเหตุ

5. ป้องกันตัว ต้องไม่เป็นผู้มีส่วนร่วมก่อเหตุ เช่น เอาไม้ไปตีเค้าก่อน พอเค้าจะตีกลับ ก็เลยรีบตีซ้ำอีก แบบนี้เราจะไม่สามารถอ้างป้องกันตัวได้

ต่อสู้กับอาชญากร

         ทั้งหมดนี้เป็นหลักการเบื้องต้นในการเอาตัวรอดในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่การลดโอกาสในการตกเป็นเหยื่อเป็นวิธีการป้องกันอาชญากรรมที่ทำได้ง่ายและได้ผลเป็นอย่างมาก โดยสามารถทำได้ทุกระดับตั้งแต่ระดับใหญ่ (ระดับเมือง) ระดับกลาง (ระดับอาคารสถานที่) และระดับเล็ก (ระดับบุคคล) ซึ่งถ้าในแต่ละระดับมีมาตรการที่ดีและนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพแล้ว ก็จะส่งผลทำให้การตกเป็นเหยื่อลดน้อยลงในระดับหนึ่ง

ดังนั้น ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมควรร่วมมือกันเพื่อช่วยลดโอกาสความเสี่ยงนี้ให้มากขึ้นครับ

#อาชญากร #อาชญากรรม #ป้องกันตัว #ภัยสังคม

Souce : https://www.tnnthailand.com/content/64447 

        https://www.matichon.co.th/article/news_739425 

ติดต่อเรา

เราจะเป็นพลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคม ด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น

ข้อความสำหรับขอความยินยอมในหน้าเว็บไซต์ https://www.skyict.co.th หากท่านยินยอมให้ทางบริษัทประมวลผลข้อมูลในกรณีใดๆ กรุณาทำเครื่องหมาย / ในช่อง ด้านหน้า