ข้อแตกต่างระหว่าง Rapid Antigen VS Rapid Antibody ตรวจโควิด-19 ได้ไม่เหมือนกัน

Read More

“ข้อแตกต่างระหว่าง Rapid Antigen Test VS Rapid Antibody Test ตรวจโควิด-19 ได้ไม่เหมือนกัน”

ในตอนนี้กระทรวงสาธารณสุขเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวไทย สามารถหาซื้อชุดตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง เพื่อลดปัญหาความต้องการตรวจโควิด-19 ที่โรงพยาบาลด้วยวิธี RT-PCR ที่มากเกินไปจนเจ้าหน้าที่ขาดแคลนและไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง รวมถึงปัญหาอุปกรณ์ในการตรวจโควิด-19 ที่โรงพยาบาลก็เริ่มขาดแคลนด้วยเช่นกัน 

ชุดตรวจโควิดที่มีอยู่ในประเทศไทย ณ ตอนนี้ มีอยู่ 2 ประเภท คือ Rapid Antigen Test และ Rapid Antibody Test ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ไม่เหมือนกัน และวิธีใช้แตกต่างกันด้วย ระวังอย่าเข้าใจผิดนะครับ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ชุดตรวจแบบเร็วหรือ Test Kit มี 2 แบบ คือ Rapid Antigen Test VS Rapid Antibody Test

Rapid Antigen Test

1.Rapid Antigen Test เป็นการตรวจองค์ประกอบไวรัส จะเก็บตัวอย่างจากทางจมูก ลึกถึงคอหรือเก็บจากลำคอ การตรวจ Antigen Test ต้องผ่านการรับรองและขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ปัจจุบันมีขึ้นทะเบียนแล้ว 24 ยี่ห้อ ซึ่งการใช้จะเป็นการอนุญาตให้ใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น และดำเนินการโดยสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองในการตรวจวิธีมาตรฐาน RT-PCR ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 300 แห่งเท่านั้น ซึ่งเพียงพอที่จะดำเนินการเพื่อลดการรอคิวได้ เพราะเป็นการลดการตรวจด้วย RT-PCR

ข้อดีของ Rapid Antigen Test

  • ใช้งานง่าย ทราบผลภายใน 10-30 นาที
  • เหมาะสำหรับการประเมินความชุกและการติดเชื้อ

ข้อควรระวังของ Rapid Antigen Test

การตรวจเชื้อไวรัสแบบ Rapid Antigen Test ต้องรับเชื้อมาแล้ว 5-14 วัน ถึงจะตรวจได้ผลที่แม่นยำ อย่างไรก็ตาม การตรวจด้วย Rapid Antigen Test เมื่อตรวจแล้วผลเป็นลบไม่ได้แปลว่าไม่ติดเชื้อ แต่เชื้ออาจจะน้อยและตรวจไม่เจอ ดังนั้น หากผลเป็นลบยังต้องกลับไปกักตัว และรอติดตามมาตรวจภายหลัง ส่วนผลเป็นบวก เนื่องจากอาจเป็นผลบวกลวงก็ต้องมีการตรวจซ้ำด้วย RT-PCR ซึ่งหากผลเป็นลบก็ต้องกลับไปดูแลกักตัวเช่นกันเพราะมีความเสี่ยงมากแต่หากเป็นบวกก็จะนำเข้าสู่ระบบการรักษาต่อไป

Rapid Antibody Test

2.Rapid Antibody Test เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อไวรัส  ไม่ใช่ตรวจหาไวรัสโดยตรง จึงมีความจำเพราะเจาะจงแม่นยำน้อยกว่า และต้องรอเวลานานกว่า คือ ต้องรอให้มีภูมิคุ้มกันขึ้นให้ชัดเจน ส่วนใหญ่ต้องเกินวันที่ 5 ไปแล้ว และมีความยุ่งยากในการแปลผลมากกว่า เพราะระดับภูมิคุ้มกันมีสองชนิด ซึ่งจะแปลผลต่างกัน แต่การตรวจ ทำได้สะดวกและง่ายกว่าคือ เจาะเลือดที่ปลายนิ้ว ซึ่งในประเทศไทยไม่นิยมนำมาใช้ เพราะปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนจำนวนมาก ภูมิคุ้มกันอาจเกิดจากการติดเชื้อหรือวัคซีนก็ได้ ซึ่งไม่สามารถแยกได้ และยังไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. ให้จำหน่ายผ่านออนไลน์

สุดท้ายนี้ วิธีที่ดีที่สุดยังไงก็คือการตรวจแบบ RT-PCR แต่เมื่อสถานการณ์ในปัจจุบันทำให้มีความจำเป็นจะต้องเปิดโอกาสให้มีการตรวจที่กว้างขวางขึ้น เราจึงต้องเลือกวิธี Rapid Antigen Test นั่นเอง เพราะเป็นวิธีที่มีความน่าเชื่อถือและแม่นยำกว่าวิธี Rapid Antibody Test ครับ

 

ขอบคุณข้อมูล www.sanook.com

ติดต่อเรา

เราจะเป็นพลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคม ด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น

ข้อความสำหรับขอความยินยอมในหน้าเว็บไซต์ https://www.skyict.co.th หากท่านยินยอมให้ทางบริษัทประมวลผลข้อมูลในกรณีใดๆ กรุณาทำเครื่องหมาย / ในช่อง ด้านหน้า